V-AML
ปัจจุบันภัยก่อการร้ายถือว่าเป็นภัยคุกคามไปทั่วโลก อาชญากรฟอกเงินได้ทำการปลอมแปลงและปกปิดเงินที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย กลุ่มอาชญากรปกปิดวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการเงิน เพื่อแสดงถึงทิศทางและกรอบการดำเนินงานของธนาคารในการป้องกันการฟอกเงิน ยับยั้งและป้องกันไม่ให้ธนาคารเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของทางการ ซึ่งทำให้ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำผิด องค์กรระหว่างประเทศต่างๆจึงได้กำหนดแนวทางปฎิบัติที่ดี (Best Practice)

เพื่อเป็นมาตรฐานสากลในการป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายให้ประเทศต่าง ๆ แนวทางการปฎิบัติที่เป็นมาตรฐานสากล ได้แนะนำให้สถาบันการเงินใช้นโยบายและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับลูกค้าโดยต้องทำการรู้จักลูกค้า/การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (Know Your Customer /Customer Due Diligence : KYC/CDD) เป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันมิให้ธนาคารถูกใช้เป็นตัวกลางในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
V-AML SOLUTION
V-AML Solution จะประกอบด้วย 5 ส่วนหลักดังต่อไปนี้
- แหล่งข้อมูล Data Source จะเป็นแหล่งข้อมูลที่ระบบงาน Anti Money Laundering ที่ประกอบด้วยกลุ่มข้อมูล Customer เช่น ข้อมูล ATM/Debit Card ข้อมูลสินเชื่อ ข้อมูลเงินฝาก ข้อมูลการลงทุน ฯลฯ
- AML Staging เป็นที่พักข้อมูล ที่ดึงมาจากระบบต้นทาง
- กระบวนการนำเข้าข้อมูล KYC , AML , AMLO
- กระบวนการนำเข้าข้อมูล Core Base System และ Knowledge Base System ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะเป็นฐานข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้สำหรับนำมาสร้างเงื่อนไขของ การตรวจสอบธุรกรรมของลูกค้า
- Scenario Admin และ Scenario User ที่จะเข้ามาใช้ระบบงาน
โดยกระบวนการทั้งหมดนี้จะทำงานผ่านเครื่องมือ V-AML Solution ในการ ตรวจสอบธุรกรรม ระบบจะทำการนำธุรกรรมที่เกิดขึ้นมาตรวจสอบ หากผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ระบบจะแจ้งเตือนให้ดำเนินการตรวจสอบ และ รายงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมี ส่วนประกอบหลัก (Key IT Component) ที่จะรองรับ มาตรการทั้ง 7 ดังต่อไปนี้
- Address KYC/CDD – จัดทำ KYC/CDD
- Link Analysis – สร้างความเชื่อมโยงระหว่างความสัมพันธ์ต่างๆ ของธุรกรรม บัญชี และลูกค้า
- Risk Scoring– จัดอันดับความเสี่ยง
- Transaction Monitoring– มีเกณฑ์ในการตรวจสอบตั้งแต่ระดับธุรกรรม บัญชี และลูกค้า
- Reporting to FIU – รองรับการทำรายส่ง ปปง. ทั้งรุปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และรูปแบบเอกสาร
- Investigation Tools– มีระบบในอำนวยความสะดวกในการสอบสวน
- Data Integration– มีเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหลายประเภท
หลักการทำงานของระบบ

ระบบมีขั้นตอนการทำงานดังต่อไปนี้
- ขั้นตอนการนำเข้าข้อมูล Watch List , Transaction Data , Customer Data และ Market Data ซึ่งเป็นข้อมูล Core Base ที่ถูกกล่าวถึง ข้างต้น เพื่อไปประมวลผล
- ขั้นตอนตรวจสอบ และกรองข้อมูลตามเงื่อนไข (Scenario) ขั้นตอนนี้เรียกว่า Filtering Analytics Engine และ Phase Based Analytics กล่าวคือระบบจะทำการกรองข้อมูลและเรียนรู้พฤติกรรมของข้อมูลที่นำเข้าจากข้อที่ 1 แยกรายการตามบัญชี และแยกตามลูกค้า
- ขั้นตอน Scoring ระบบจะให้ค่าคะแนนของธุรกรรมนั้น หากธุรกรรมใดๆ ติดเงื่อนไข (Scenario) มาก ค่า Scoring นั้นจะมีค่าสูงโดยขั้นตอนนี้เรียกว่า Intelligent Scoring
4.ขั้นตอนการเตือนและสร้างรายงาน เพื่อให้ผู้ใช้งาน ทำการตรวจสอบธุรกรรมดังกล่าวโดยในส่วนนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
- No Issue เป็นรายการธุรกรรมที่ไม่ต้องสงสัย
- Block เป็นรายการธุรกรรมที่ต้องสงสัย และเป็นรายการที่ติด Watch List ด้วย
- รายการถอนทันทีจากรายการโอนเงินอัตโนมัติต่างประเทศ (EFT)
- รายการเกี่ยวกับ Trade Finance
- การวิเคราะห์ความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงของข้อมูล (Link Analysis) ข้อมูลคงที่ (Static Data) เช่น ที่อยู่ บริษัทที่ใช้ชื่อลงทุน (Nominee) ข้อมูล เชิงภูมิศาสตร์ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่กำหนดได้โดยใช้พารามิเตอร์ โดยปรับเปลี่ยนข้อมูลได้ตามรายการบัญชี ตามประเภทผลิต- ภัณฑ ์ประเภท ตราสาร ประเภทบัญชี เป็นต้น
- วิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นซํ้า ๆ (Duplicate Data)
- สามารถเชื่อมโยงข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับรายการบุคคลที่ต้องสงสัย (Suspected List) ได้
- ระบบสามารถแสดงผลการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงเป็นรายงานหรือ Graphic ได้
- ระบบสามารถสืบค้นข้อมูลที่ซํ้าซ้อนของลูกค้าแต่ละราย
- ระบบสามารถสืบค้นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเดินบัญชีของลูกค้าได้
- ระบบสามารถสืบค้นข้อมูลโดยใช้เงื่อนไขมากกว่า 1 เงื่อนไขได้
- ระบบสามารถสืบค้นข้อมูลผู้เฝ้าระวังย้อนหลัง กรณีที่มีการลงข้อมูลผู้เฝ้าระวังรอบใหม่ เช่น UN List ,OFAC List ,PEPs List NCCT/TAX Havens Country และ AML List เป็นต้น
- ระบบสามารถสร้าง/เปลี่ยนแปลง/ยกเลิกหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการตรวจสอบข้อมูลรายการ รายการธุรกรรมทางการเงินได้อย่างน้อยตามมาตรฐานสากลที่สมาชิก FATF ธนาคารแห่ง ประเทศไทย สำนักงาน ปปง. และ ธนาคาร กำหนดได้โดยง่าย โดยใช้พารามิเตอร์
- ระบบสามารถเตือน เมื่อปรากฎรายการธุรกรรมทางการเงินที่น่าสงสัยตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด ตรวจสอบ
- ระบบสามารถจัดเก็บข้อมูลการปรับปรุง เพิ่มเติม แก้ไข พร้อมทั้งระบุผู้ทำการแก้ไขได้
- ระบบสามารถบันทึกข้อความเพิ่มเติม หรือสามารถแนบเอกสารในรูปแฟ้มข้อมูลประกอบ รายละเอียดการตรวจสอบ
- ระบบสามารถจับความสัมพันธ์รายการธุรกรรมทางการเงินทั้งที่เห็นได้ชัดเจน รายการที่ซ่อน-เร้นระหว่างลูกค้าด้วยกันและระหว่างบัญชีของลูกค้า
- ระบบสามารถติดตามตรวจสอบรายการธุรกรรมทางการเงินทั้งรายการปัจจุบันและรายการ ย้อนหลัง
- ระบบสามารถตรวจสอบระหว่างบัญชีที่เชื่อมโยงกันได้อย่างอัตโนมัติ
- ระบบสามารถตรวจสอบได้ในระดับบัญชี ทั้งบัญชีที่สัมพันธ์กัน และรายบัญชี
- ระบบสามารถวิเคราะห์ดักจับ เตือน เมื่อพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
- ระบบสามารถกำหนดรูปแบบหรือค่ามาตรฐานเพื่อวิเคราะห์ ตรวจสอบ และเปรียบเทียบ รายการธุรกรรมทางการเงินที่มีเหตุอันควรสงสัยได้
- ระบบสามารถสร้างรายงาน แสดงรายการธุรกรรมทางการเงินที่มีเหตุอันควรสงสัย โดยใช้เงื่อน- ไขมากกว่า 1 เงื่อนไขได
- มีรายงานแสดงรายการธุรกรรมทางการเงิน ที่มีเหตุอันควรสงสัยที่สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้กับองค์กรได้