V-KYC

ปัจจุบันอาชญากรทางการเงินถือว่าเป็นภัยคุกคามไปทั่วโลก โดยมีหลากหลายรูปแบบในการปกปิดวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของเงินที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย ซึ่งเรารู้จักกันว่าเป็นธุรกรรมฟอกเงิน

เพื่อแสดงถึงทิศทางและกรอบการดำเนินงานขององค์กร สถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์ในการป้องกันการฟอกเงิน เพื่อยับยั้งและป้องกันไม่ให้สถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของทางการ สถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องมีระบบการรู้จักตัวตนของลูกค้า (KYC : Know Your Customer) เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำผิด

V-KYC คือ ระบบการรู้จักตัวตนของลูกค้าที่พัฒนาโดยบริษัทวี-สมาร์ท จำกัด เป็นระบบที่ได้มาตรฐาน ช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับการกระทำผิดพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 หรือการทำธุรกรรมโดยผู้ก่อการร้าย ช่วยชี้ให้เห็นธุรกรรมที่น่าสงสัย ชี้ธุรกรรมปกปิดที่มาที่แท้จริงของเงินโดยผิดกฎหมาย นอกจากนี้แล้วยังช่วยลดปริมาณการทุจริตและความเสี่ยงอื่นๆ

V-KYC ได้พัฒนาการเก็บหลักฐานการแสดงตัวตนของลูกค้า ที่อยู่อาศัย แยกตามประเภทของลูกค้า รวมถึงอาจมีการขยายขอบข่ายของข้อมูลให้ละเอียดและลงลึกมากขึ้น โดยระบบสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยง สามารถเชื่อมต่อกับระบบภายนอก เช่น รายชื่อบุคคลที่ควรเฝ้าระวัง (Sanction & Warning List , Political Exposed Persons : PEP) รวมทั้งการออกรายงานต่างๆ ที่ต้องนำส่ง ปปง. เช่น ปปง. 1-01 ปปง. 1-02 ปปง. 1-03 ปปง. 1-04 ปปง. 1-05-9 การส่งออกไฟล์ในรูปแบบต่างๆ รองรับการส่งออกธุรกรรม XML format รวมทั้งจัดทำรายงานในระดับผู้บริหาร

V-KYC SOLUTION

V-KYC Solution จะประกอบด้วยส่วนหลักดังต่อไปนี้

  1. ข้อกำหนดว่าด้วยการเปิดบัญชีใหม่ให้กับลูกค้า
  2. การรู้จักตัวตนของลูกค้าสำหรับลูกค้าประเภทต่างๆ
  3. การแก้ไขปรับปรุงข้อมูลการรู้จักตัวตนของลูกค้าสำหรับลูกค้าปัจจุบัน
  4. รายชื่อบุคคลที่ควรเฝ้าระวัง (Sanction & Warning List , Political Exposed Persons : PEP)
  5. ระบบรองรับการจัดทำรายงานและรูปแบบการจัดส่งข้อมูล XML ธุรกรรมเงินสด ปปง. 1-01, ธุรกรรมด้านสินเชื่อ ปปง. 1-02, ธุรกรรมต้องสงสัย ปปง. 1-03, ธุรกรรมด้านประกันภัย 1-04 ธุรกรรมอิเล็คทรอนิค ปปง. 1-05-9 และรายงานตามมาตรฐานของ AMLO และ FATF
  6. รองรับการเชื่อมโยงระบบงาน Customer Identification (CIS) ของธนาคาร
  7. รองรับรูปแบบการเข้ารหัสข้อมูลตาม Certificate มาตรฐานความปลอดภัยด้านข้อมูล AMLO

หลักการทำงานของระบบ

 

ระบบมีขั้นตอนการทำงานดังต่อไปนี้

  1. ระบบสามารถจัดเก็บ ตรวจสอบ ค้นหาข้อมูล/ประวัติลูกค้า เพื่อใช้จัดระดับ/วิเคราะห์ความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละคนได้ รวมถึงฐานข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับระบบ
  2. ระบบสามารถจัดระดับความเสี่ยง Risk Scoring ตามเงื่อนไขของสมาคมธนาคารไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และส่วนงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัด Risk Scoring
  3. ระบบมี Link Analysis สามารถค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับข้อมูลต่างๆ ได้
  4. - ระบบสามารถตรวจสอบความสัมพันธ์ที่ปกติ แต่อาจไม่สามารถมองเห็นได้ทั่วไป (Hidden Relationship) ระหว่างลูกค้าด้วยกัน และระหว่างบัญชี ที่อาจเป็นพฤติกรรมสำหรับการฟอกเงินได้
  5. วิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นซ้ำๆได้ (Duplicate Data)
  6. สามารถสืบค้นข้อมูลผู้เฝ้าระวังย้อนหลัง กรณีที่การลงข้อมูลผู้เฝ้าระวังรอบใหม่ เช่น UN List, OFAC List, PEP’s List NCCT/TAX Havens Country
  7. ระบบสามารถสร้าง/เปลี่ยนแปลง/ยกเลิก หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการตรวจสอบข้อมูลรายการธุรกรรมทางการเงินได้อย่างน้อยตามมาตรฐานสากลที่มีสมาชิก FATF ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน ปปง. และธนาคารกำหนดได้โดยง่าย โดยใช้พารามิเตอร์
  8. ระบบสามารถคัดและแปลงข้อมูลเพื่อจัดทำเป็นรายงานส่งให้สำนักงาน ปปง. หรือส่วนงาน ที่มีอำนาจตามกฎหมาย รายงานมีความถูกต้อง ครบถ้วน และไม่ซํ้าซ้อน
  9. สามารถใช้ได้หลายภาษา (Multi Language)
  10. สามารถรับ - ส่ง หรือโอนข้อมูลระหว่างระบบงานเดิมขององค์กร และส่วนงานภายนอกทั้งแบบ Online และ Batch โดยสามารถตั้งเวลาการรับ-ส่งข้อมูลได้
  11. มีระบบรักษาความปลอดภัยในระดับ Application , Database และ File รวมถึงระบบสำรองและฟื้นฟูข้อมูล (Backup/Recovery)
  12. สามารถกำหนดช่วงระยะเวลาที่จะจัดเก็บข้อมูลในระบบและบริหารจัดการข้อมูลที่ไม่ใช้ได้ และสามารถรองรับการจัดเก็บข้อมูลได้ไม่น้อยกว่า 5 ปี